Skip to main content

ผู้สูงวัยดิจิทัล (Smart Ageing)


HAPPYU

 

หลักสูตรผู้สูงวัยดิจิทัล Smart Ageing

/assets/courseware/v1/b787042a61c41903155a2821d1c404fa/asset-v1:HAPPYU+HAPPYU01+HAPPYU01+type@asset+block/EBE08558-7785-4C5F-A120-EDFC7525C478.png

คำอธิบายรายวิชา

      “สังคมผู้สุงอายุ” นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของประเทศที่เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับสหประชาชาติเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะของผู้สูงอายุทั้งของประเทศไทยเอง  และของทั่วโลกสู่การเป็นผู้สูงอายุคุณภาพ (Active Ageing) โดยกำหนดเป็น “ทศวรรษการพัฒนาสุขภาวะสากล 2020-2030”  โดยองค์การอนามัยโลก  (WHO) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ตามกรอบมาตรฐานและเจตนารมณ์ร่วมกัน โดยในส่วนของประเทศไทยเองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2553 และพ.ศ. 2560 โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ  กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง โดยต้องได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี   จากแนวคิดและหลักการดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนสังคมสูงวัย คนไทยอายุยืน โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการผู้สูงอายุที่มีการเรียงลำดับความสำคัญตามความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมคือ  1.การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติสังคม 3. การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติสุขภาพ 4. มิติสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเน้นการพัฒนาผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน  โดยเน้นการพัฒนาที่ให้ผู้สูงอายุสามารถเพื่อตอบรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลและการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ด้วยตนเอง ดูแลตนเองและคนรอบข้าง และสังคมโดยภาพรวมได้ร่วมกัน 

    ดังนั้นจึงมีการเรียนในรายวิชาผู้สูงวัยดิจิทัล (Smart Ageing) ที่เน้นการนำนวัตกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ไอซีที” (ICT) ที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในปัจจุบัน โดยพัฒนาเนื้อหาตามกรอบมาตรฐานต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเมื่อเรียนจบและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกันแล้ว ผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อต่อยอดคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)

คุณสมบัติผู้เรียน

    บุคลากรผู้สูงอายุ ผู้นำ แกนนำ ประชาชนทั่วไปที่สนใจ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัมนาในลักษณะต่างๆ อาทิ เครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา ชุมชม มูลนิธิ กลุ่มและอื่น ๆ

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

     จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด 15 ชั่วโมง

คำแนะนำในการเรียนรู้

    1. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน

    2. เมื่อผู้เรียนมีคะแนนรวมจากการทดสอบหลังเรียนผ่านไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับใบประกาศนียบัตร              อิเล็กทรอนิกส์ ในระบบได้

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชา
  1. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจยกระดับทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐาน จนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านสุขภาวะทั้ง 4 มิติในสื่อออนไลน์ทั่วไปได้
  2. เพื่อสนับสนุน และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจที่มีความพร้อมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในหลักสูตรระดับอื่น ๆ ของ “ผู้สูงวัยดิจิทัล” ที่สูงขึ้นได้
  3. เพื่อพัฒนากำลังคนที่เป็นวัยทำงานให้มีสมรรถนะตามกรอบองค์กรสุขภาวะ และกรอบสมรรถนะของมหาวิทยาลัยชีวิตที่ใช้ระบบการศึกษาแบบเปิด
ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา
  1. 1.รศ.ดร. กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง การจัดการความรู้การสื่อสาร
    และการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    ในหน้าที่ผู้จัดการโครงการ
  2. รศ.ดร. ปิยฉัตร ล้อมชวการ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง การจัดการความรู้การสื่อสาร
    และการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
  3. คุณภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อ านวยการส านักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.
  4. ผศ. อัจฉรา พุ่มดวง นักวิจัยอิสระ ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Aging
  5. นางอมราพร องอาจอิทธิชัย พยาบาลช านาญการพิเศษ สาขาวิชาจิตเวช ศูนย์การแพทย์ปัญญาฯ
    รพ.ชลประทาน ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ
  6. ผศ ดร จุฑาภรณ์ ทองบุญชู สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
    การดูแลผู้สูงอายุ
  7. ผศ.ดร. บุษบา ต้นทอง ที่ปรึกษาด้านภาษาต่างประเทศ ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
    การจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา (CCDKM)
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
  8. ดร.พรรณี อมรวิพุธพนิช อดีตบรรณาธิการข่าวรายงานพิเศษ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง
    คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ
  9. อ.กันต์ปาณัสม์ อำไพวรรณ ที่ปรึกษาด้าน Digital and Content Marketing
    ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง การจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา
    (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์
  10. อ.นิลรำไพ ภัทรนนท์ นักวิจัยศูนย์วิจัยเฉพาะทาง การจัดการความรู้การสื่อสาร
    และการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    ในหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่องทางติดต่อทีมรายวิชา

e-Mail: ccdkm.org@gmail.com

Tel: 098-9636423

ทีมงานดูแลหลักสูตรและระบบการเข้าเรียน
ดร. นิลรำไพ ภัทรนนท์
นางสาว ดวงกมล อินทรทัศน์
นางสาวจุฑามาศ ยศนาวงศา
นางสาวชนนี ทัดทาน
นางสาว ธนรัตน์ จันทร์สุภาพ

Enroll